วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พิพิธภัณฑ์ มมส........

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(บ้านอีสาน)


ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

          โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1มิถุนายน พ.ศ. 2542โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่กับพัฒนาการของสังคม (พ.ศ.2511) จนถึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ. 2517)และเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ.2537) รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งการัฒนาองค์ความรู้ ด้านพิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสังคมได้รับประโยชน์จากกิจกรรมพิพิธภัณฑ์ทั้งในด้านการปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น การจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และกิจกรรมสำหรับคณาจารย์ นิสิต และบุคคลทั่วไป
           ผศ.ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ประธานโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีดำริจัดตั้งสวนสัตว์ขนาเล็กทั้งนี้ได้ความร่วมมือกับสวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมถ์ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสถานีสัตว์จะมีสัตว์อยู่หลายชนิด อาทิ เช่น กวางลูซ่า,ละมั่ง ,เนื้อทราย, กวางดาว, นกยูง, นกแก้วมาคอร์ และยังมีสัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิดในโครงการ เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ สนับสนุนการวิจัย และการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหาสารคามและบุคคลทั่วไปรวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจจากกาารเพาะเลี้ยงและขยายพันธ์สัตว์บางประเถทด้วย
         โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอาคารบรมราชกุมารี (สำนักอธิการบดี)
         ภายในโครงการจัดต่ั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 8 ส่วน ดังนี้
        1. เรือนอีสารประยุกต์หลังใหญ่ ประกอบด้วย สำนักงาน ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมย่อย ห้องรับรอง คลังพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และนิทรรศการพัฒนาการของหมาวิทยาลัยมหาสารคาม
        2.เรือนอีสารประยุกต์หลังเล็ก ประกอบด้วยพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน
       3.เรือนโข่ง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งขมรมนาฏศิลป์ และดนตรีพื้นเมืองมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
       4.เรือนเกย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       5.เล้าข้าวตูบต่อเล้า จัดแสดงเครื่องมือ เครื่องใช้ในิถีชีวิตชาวลุ้มแม่น้ำชี
       6.เรือนผู้ไท จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญาชาวบ้านกลุ่มแม่น้ำชี
       7.ลานกิจกรรม เป็นพื้นที่สำหรับจักกิจกรรมกลางแจ้ง
       8.สถานีศึกษาสัตว์


 ทางเข้าพิพิธภัณฑ์



 บ้านเรือนไทย



 บรรไดทางขึ้นบ้านเรือนไทย



 เรือนอีสานประยุกต์หลังใหญ่



 บ้านคนอีสานในสมัยก่อน



 ลานแสดงกิจกรรมต่างๆ



ทางเดินแบบไทยๆ


สวย ๆ จากมุมไกล



บรรยากาศข้างในบ้านอีสาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น